top of page
การป้องกันโรคเมลิออยด์

9 วิธีการป้องกัน ลดเสี่ยงติดเชื้อเมลิออยด์

    หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากต้องสัมผัสดินหรือน้ำ เช่นทำการเกษตร จับปลา ลุยน้ำ ลุยโคลน ควรสวม ถุงมือยาง กางเกงขายาว ชุดลุยน้ำ และ รองเท้าบูทเสมอ

     หากสัมผัสดินหรือน้ำ ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ทันที

     หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ ไม่ใส่ดินหรือสมุนไพรใดๆ ลงบนแผลและหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะหายสนิท

สวมรองเท้าทุกครั้ง

เมื่อออกจากบ้าน

ดื่มน้ำต้มสุก

(เนื่องจาก น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำบาดาล และน้ำประปาตามท่อ อาจมีเชื้อปนเปื้อนได้)

     ทานอาหารสุกสะอาด (ไม่ทานอาหารที่มีการปนเปื้อนจากดิน ฝุ่นดิน หรือ ล้างด้วยน้ำที่ไม่สะอาด)

 

     หลีกเลี่ยงการสัมผัสลมฝุ่น ฝน และการทำงานท่ามกลางสายฝน

    เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ห้ามทานยาต้ม ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอน และ ผู้ป่วยเบาหวานต้องดูแลระดับน้ำตาลให้ปกติ (ระดับน้ำตาลเท่ากับ 80-100)

     หากไม่สบาย มีไข้สูง หรือเกิดการอักเสบที่ใดก็ตามในร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ

     1. ความรุนแรงหรือชนิดของการติดเชื้อ พบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อชนิด Disseminated septicemia, Non- Disseminated septicemia และ Multifocal Localized มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงกว่าผู้ที่ติดเชื้อแบบเฉพาะที่ ประมาณ 5 เท่า

     2. ชนิดของยาที่ใช้รักษาใน Acute initial phase พบว่าผู้ที่ได้รับยา Ceftazidime มีโอกาสกลับเป็นซ้ำน้อยกว่าผู้ที่ได้รับยา Co-amoxiclav หรือ Conventional therapy ประมาณ 2 เท่า

     3. ผู้ป่วยที่รักษาระยะ Maintenance phase พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ Conventional therapy มีการกลับเป็นซ้ำน้อยที่สุด

     4. ผู้ป่วยที่รักษาระยะ Maintenance phase ที่กินยานานกว่า 8 สัปดาห์ มีโอกาสกลับเป็นซ้ำน้อยกว่าผู้ป่วยที่กินยาน้อยกว่า 8 สัปดาห์ ในปัจจุบันจึงพยายามให้ผู้ป่วยกินยานาน 12-20 สัปดาห์ และพบว่ามีโอกาสกลับเป็นซ้ำ 2-4 เท่า 

     5. พบว่าการกลับเป็นซ้ำ เป็นเพราะการกินยาไม่สม่ำเสมอ หรือกินยาไม่ครบตามระยะเวลาการรักษา

bottom of page